เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 1/2557 มหัศจรรย์สิ่งรอบตัว

เป้าหมาย

-นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจลักษณะทั่วไปของสิ่งต่างๆรอบตัว

-นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิต และความสัมพันธ์ของสิ่ง มีชีวิตและไม่มีชีวิตที่หลากหลาย

-สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำรงชีวิต

week4

แผนการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ Topic : มหัศจรรย์สิ่งรอบตัว 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2557
เป้าหมายรายสัปดาห์ : อธิบายปัจจัยและการทดลองเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืช และการเตรียมดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืช
Week
Input
Process
Out put
Outcome
W.4




















โจทย์
  อธิบายปัจจัยและการทดลองเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืช และการเตรียมดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืช
คำถาม
อะไรบ้างที่เป็นปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืช ?
ถ้าไม่มีดิน พืชจะเจริญเติบโตได้หรือไม่ ?
- นักเรียนจะจัดหมวดหมู่ของพืชชนิดต่างๆได้อย่างไร เพราะเหตุใด ?
เครื่องมือคิด
- Round Rubin (ปัจจัยที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช)
- Brainstorming (ส่วนประกอบและหน้าที่ของพืช)
- Walk and Talk (ลักษณะของดินประเภทต่างๆ)
- Flowchart (นักเรียนสรุปความเข้าใจรายสัปดาห์ที่ 4)
- Show and Share (นำเสนอผลงาน)
Wall Thinking (ติดชิ้นงาน)
- Mind Mapping (ปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืช)
เด็กในห้องเรียน
นักเรียนแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
นักเรียนศึกษาส่วนประกอบและหน้าที่ของพืช
- นำเสนอผลงานของตนเองหน้าชั้นเรียน
- นักเรียนสรุปความเข้าใจรายสัปดาห์ที่ 4
รู
อำนวยความสะดวกให้กับนักเรียน
กระตุ้นคำถามให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
บรรยากาศ/สื่อ
กระดาษ A4
บรรยากาศในห้องเรียน
- คลิปวิดีโอ
ชง
- ครูเปิดคลิปวิดีโอ เรื่อง "การเจริญเติบโตของพืช"
ครูเปิดคลิปวิดีโอ เรื่อง "ดินฉ่ำ" 
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม "นักเรียนเห็นอะไรบ้างจากสิ่งที่ได้ดูได้ฟังและมีความรู้สึกอย่างไร ?"
- "อะไรบ้างที่เป็นปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืช ?"
- "ถ้าไม่มีดินเราจะปลูกพืชได้หรือไม่ ?"
- "เราจะปรับปรุงดินให้เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชอย่างไร ?"
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ได้สำรวจร่วมกัน
ครูและนักเรียนช่วยกันออกความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
- ครูและนักเรียนสำรวจดินบริเวณต่างๆภายในโรงเรียน และร่วมกันแสดงความคิดเห็น
ใช้
- แบ่งกลุ่มนักเรียน ทดลองปลูกพืชในภาชนะต่างๆ โดยใช้ดินประเภทต่างๆ และไม่ใช้ดิน
- วาดภาพการทดลองของกลุ่มตนเอง
- เตรียมอุปกรณ์และลงมือปรับปรุงดินให้เหมาะสมในการปลูกพืช
- Mind Mapping ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
- สรุปความเข้าใจรายสัปดาห์ที่ 4

ชิ้นงาน
วาดภาพการทดลองของกลุ่มตนเอง
- วาดภาพจำลองพืชชนิดต่างๆ

- Mind Mapping ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
- สรุปความเข้าใจรายสัปดาห์ที่ 4
ภาระงาน
ดูคลิปวิดีโอเรื่องการเจริญเติบโตของพืช
- ดูคลิปวิดีโอเรื่อง ดินฉ่ำ
- สำรวจดินภายในบริวเณโรงเรียนและบ้านของตนเอง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
ระดมสมองพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นในคลิปวิดีโอ
- ทดลองปลูกพืชโดยใช้ดินประเภทต่างๆ และแบบไม่ใช้ดิน
ทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ สิ่งที่ทำได้ดี และสิ่งที่ควรปรับปรุง
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 4
ความรู้
- เข้าใจปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืช
- เข้าใจลักษณะของดินประเทภต่างๆ
นำเสนอผลงานให้ผู้อื่นเข้าใจ (.8.1 .1/7)
1. ทักษะชีวิต
- สามารถวางแผนและจัดลำดับขั้นตอนการทำงาน
เลือกใช้เครื่องมือในการทำงานได้ถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัย
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น ยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่าง
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและมีคุณภาพ
การสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้อื่น
2. ทักษะการเรียนรู้
มีความสนใจในการเรียนรู้ ช่างสังเกตและรู้จักแสวงหาคำตอบจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
3. ทักษะสังคม
การทำงานและแชร์ข้อมูลร่วมกับเพื่อน
การยอมรับและฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
แบ่งปันสิ่งของให้เพื่อนร่วมชั้นเรียน
ช่วยเหลือหยิบจับสิ่งของให้ผู้อื่น
ตอบคำถามด้วยความเต็มใจเมื่อผู้อื่นสงสัย
ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
1. เคารพให้เกียรติ และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีความแตกต่างจากตน
2. มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานและการแสดงความคิดเห็น
3. วิเคราะห์ สังเคราะห์และเรียบเรียงข้อมูลอย่างเป็นระบบ
4. มีเป้าหมายในการทำงานและมีกระบวนการการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน
5. รู้บทบาทหน้าที่ของตน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย

บรรยากาศการปลูกต้นไม้


1 ความคิดเห็น:

  1. กิจกรรมการเรียนรู้ PBL ในสัปดาห์นี้ นักเรียนได้ลงมือปฎิบัติ สำรวจและหาดินเพื่อมาปลูกต้นไม้กันเอง แต่ละกลุ่มมีการวางแผนในการจะปลูก แบ่งงานกัน ว่าใครต้องไปหาดินแบบไหน และมีการระดมความคิดว่าแต่ละกลุ่มจะใช้อะไรแทนดินในการปลูก ซึ่งกลุ่มที่ 1 ในส่วนของปลูกแบบไม่ใช้ดิน กลุ่มนี้เลือกใช้น้ำแทน กลุ่มที่ 2 ใช้ก้อนหิน และกลุ่มที่ 3 ใช้กาบกล้วย ซึ่งแต่ละกลุ่มก็กลูกจนสำเร็จ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ สิ่งที่ปลูกต้องใช้เวลาในการเจริญเติบโตนาน จึงยังไม่เห็นผลทันที และนักเรียนยังขาดการดูแลเอาใจใส่ จึงทำให้เมล็ดที่ปลูกไม่เป็นผล ทุกคนจึงลงความเห็นว่าจะปลูกใหม่ โดยเปลี่ยนมาเป็นการปลูกผักแทน ผักแบบเจริญเติบโตไว ซึ่งจะทำการเตรียมอุปกรณ์ และเมล็ดพันธ์ุมาในสัปดาห์ที่ 6 เพื่อปลูกใหม่อีกครั้งเพื่อให้เห็นผลชัดเจน
    ในสัปดาห์นี้กิจกรรมในส่วนของจิตศึกษา และ body scan นักเรียนเริ่มคุ้นเคยกับชั้นเรียน และเริ่มเกิดการก่อกวนในช่วงของกิจกรรมดังกล่าว ทำให้การควบคุมชั้นเรียนค่อนข้างลำบาก
    สิ่งที่ทำได้ดีแล้วคือ : การจัดเตรียมกิจกรรม การกระตุ้นให้นักเรียนอยากปฏิบัติกิจกรรม
    สิ่งที่ต้องปรับปรุงคือ : การหาข้อมูลเกี่ยวกับเมล็ดพันธ์ุพืชที่เหมาะในการปลูกระยะสั้น และการสร้างสรรค์กิจกรรมที่หลากหลาย

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น